วันอาทิตย์ที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2556

ความหมายของวิชาภูมิศาสตร์

1. ความหมายของวิชาภูมิศาสตร์
        1.1 ภูมิศาสตร์ ( Geography ) คือ วิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับการจัดการพื้นที่และสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบตัวมนุษย์ ตลอดจนองค์ประกอบด้านสังคมมนุษย์ โดยใช้วิธีการ เทคนิคและเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ช่วยในการศึกษา 
         1.2 การศึกษาทางภูมิศาสตร์ จำแนกเป็น 2 ระบบ คือ 
                 1.2.1 ระบบกายภาพ เป็นการศึกษาพื้นที่หรือสิ่งแวดล้อมบนพื้นผิวโลก เช่นลักษณะ ภูมิประเทศ ภูมิอากาศ และทรัพยากรธรรมชาติ 
                 1.2.2 ระบบสังคมมนุษย์ เป็นการศึกษาเกี่ยวกับประชากร การเมืองและเศรษฐกิจในภูมิภาคต่างๆของโลก เช่น   1.) จำนวนประชากร 

                                        2.) เชื้อชาติประชากร 
                                        3.)การตั้งถิ่นฐานของประชากร 
                                        4.) การเกษตรกรรม
                                        5.) อุตสาหกรรม 
                                        6.) การคมนาคมขนส่ง

วันเสาร์ที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2556

เครื่องมือทางภูมิศาสตร์

เครื่องมือทางภูมิศาสตร์
• เครื่องมือทางภูิมิศาสตร์ คือ สิ่งที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้นเพื่อใช้ในการศึกษา สํารวจ และรวบรวมข้อมูล
เกี่ยวกับสภาพทางภูมิศาสตร์ ของพื้นที่ต่างๆ 
• ภาพถ่ายทางอากาศ คือ รูปภาพภูมิประเทศและสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นที่ ปรากฏบนพื้นผิวโลก เป็นภาพถ่ายที่เกิดจากกล้องถ่ายรูปภาพจากมุมสูง เช่น เครื่องอากาศยาน เป็นต้น 
• เครื่องหาตาแหน่งจากดาวเทียมหรือเครื่องมือรับสัญญาณแสดงพิกิดบนพื้นผิวโลก (ระบบ GPS) การใช้
ประโยชน์จากเครื่องหาตาแหน่งจากดาวเทียมทำให้เรารู้ตำแหน่งและทิศทางของยานพาหนะทั้งทางบก 
ทางน้ำ และทางอากาศ 
• ภาพระยะไกลจากดาวเทียม คือ การบันทึกข้อมูลทปรากฏบนพื้นผิวโลกในระยะไกล โดยใช้กล้องที่ติ ดอยู่บนดาวเทียมที่โคจรอยู่รอบโลกส่งข้อมูลมายงสถานีภาคพื้นดินแล้วประมวลผลออกมาเป็นภาพ ภาพถ่าย
จากดาวเทียมจะมีการบันทึกข้อมูลในเวลาที่แตกต่างกนแล้วนํามาเปรียบเทียบวิเคราะห์ ข้อมูล เพื่อทื่ใหํ ้
เกิดภาพรวมของการเปลี่ยนแปลงและการใช้พื้นที่ต่าง ๆ บนพนผิวโลก เช่น การใช้ที่ดิน การสร้างถนน 
และการเปลี่ยนแปลงธรรมชาติ เช่น ป่าไม้ เป็นต้น รวมทั้งการศึกษาและสํารวจทรัพยากรธรรมชาติ
• แผนท ี่คือ สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อแสดงลักษณะของพื้นผิวโลกและสิ่งที่ปรากฏบนพื้นผิวโลกทั้งที่มีอยู่ตามธรรมชาติ และมนุษย์สร้างขึ้น โดยการย่อส่วนให้มีขนาดเล็กลงตามที่ต้องการ ใช้สัญลักษณ์  และเครื่องหมายที่กำหนดขึ้นแทนสิ่งต่าง ๆ ลงบนวัสดุพื้นแบนราบ
• องค์ประกอบของแผนท ี่ ได้แก่ ชื่อของแผนที่ มาตราส่วนแผนที่ พิกัดภูืมิศาสตร์ สัญลกษณ์ 
ด้วยเหตุที่วิชาภูมิศาสตร์มีขอบข่ายในการศึกษาที่กว้างขวาง และครอบคลุมพื้นที่เป็นบริเวณกว้างจึงจำเป็นต้องใช้เครื่องมือทางภูมิศาสตร์เข้าช่วยในการศึกษา มีดังนี้
ลูกโลก

ศรลม

แผนที่

เข็มทิศ

ภาพถ่ายทางอากาศ


ภาพถ่ายจากดาวเทียม

วันเสาร์ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2556

ลักษณะภูมิประเทศและภูมิอากาศในประเทศไทย

ลักษณะภูมิประเทศของประเทศไทย                  
ถ้าพิจารณาจากแผนที่แสดงลักษณะภูมิประเทศของไทยจะเห็นว่า ภูมิประเทศของไทยแบ่งออกได้เป็น 6 เขตดังนี้คือ
                   1.เขตภูเขาและที่ราบระหว่างภูเขาภาคเหนือ ภูมิประเทศส่วนใหญ่ของเขตนี้มีลักษณะเป็นทิวเขา ภูเขา หุบเขาและแอ่งแผ่นดินระหว่างภูเขา มีความสูงชัน จากบริเวณ ตะวันตกเฉียงเหนือ แล้วค่อย ๆ ลาดต่ำลงมาสู่ที่ราบต่ำ บริเวณตะวันออกเฉียงใต้และตอนกลางแล้วค่อย ๆ สูงขึ้นอีกทางบริเวณตะวันออกและตะวันออก เฉียงเหนือในเขต จ.น่าน คือ แถบเทือกเขา หลวงพระบาง บริเวณที่สูงเหล่านี้นับเป็นแหล่งกำเนิดของแม่น้ำลำธารหลายสาย ที่ไหลลงสู่แม่น้ำโขงทางด้านเหนือ ลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยาทางด้านใต้และ ลงสู่ลุ่มน้ำสา ละวินทาง ตะวันตก หุบเขาและแอ่งแผ่นดินที่แม่น้ำเหล่านี้ไหลผ่าน จะเกิดที่ราบดินตะกอนที่แม่น้ำไหลพามาทับถม เป็นบริเวณที่อุดมสมบูรณ์เหมาะ ในการเพาะปลูกและการตั้งถิ่นฐาน ทำให้กลายเป็นแหล่งชุมชนสำคัญของภาค
                  2.เขตที่ราบภาคกลาง ที่ราบภาคกลาง ได้แก่ บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำตอนกลางและตอนล่างทั้งหมด ซึ่งประกอบด้วยแม่น้ำเจ้าพระยาและสาขาที่ไหลมา จากที่สูงโดย รอบแล้วไหลลงสู่อ่าวไทยที่อยู่ตอนใต้ของภาค ภูมิประเทศของที่ราบภาคกลาง เป็นที่ราบดินตะกอนที่หนาและกว้างขวางมากที่สุดของประเทศ โดยเฉพาะ อย่างยิ่งที่ราบดินตะกอนตอนล่าง มีบริเวณกว้างขวางมาก แต่ในบริเวณที่ราบนี้ยังมีที่ราบลูกฟูกและภูเขาโดดเหลืออยู่ โดยเฉพาะอาจเป็นภูเขาหินที่แข็งแกร่งหรือที่เคย เป็นเกาะมาก่อน สันนิษฐานว่าพื้นที่ส่วนใหญ่ของ ที่ราบภาคกลางในอดีตเคยอยู่ใต้ระดับน้ำทะเลต่อมาระดับน้ำทะเลลดต่ำลง ประกอบกับพื้นดินยกสูงขึ้น รวมทั้งการ กระทำของแม่น้ำหลาย สายซึ่งมีทั้งการกัดเซาะ สึกกร่อนและทับถม พอกพูน จึงทำให้บริเวณนี้กลายเป็นที่ราบอันกว้างใหญ่และเป็นแหล่งเกษตรกรรมสำคัญของประเทศ
                3.เขตภูเขาสูงภาคตะวันตก ลักษณะของภูมิประเทศส่วนใหญ่จะเป็นทิวเขา หุบเขา แต่ไม่มีที่ราบระหว่างภูเขาเหมือนทางภาคเหนือ และที่ราบไม่กว้างขวาง เหมือนภาคกลาง ภูมิประเทศของเขตนี้ประกอบด้วย ทิวเขาที่ยาวต่อเนื่องมาจากทิวเขาทาง ภาคเหนือลงไปจน ถึงทิวเขาในคาบสมุทรภาคใต้ เป็นทิวเขาสลับหุบเขาแคบ ๆ มีลำน้ำไหลขนานตามแนวของทิวเขาจาก บริเวณตะวันตกเฉียงเหนือมายังตะวันออกเฉียงใต้
        
               
4.เขตภูเขาและที่ราบชายฝั่งภาคตะวันออก ลักษณะภูมิประเทศจะเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำทางตอนเหนือ เป็นทิวเขาและที่ราบลูกฟูกทางตอนกลางและมีที่ราบ ชายฝั่งทะเลทางใต้ โดยมีแม่น้ำสายสั้น ๆ ไหลจากทิศเหนือไปทางใต้ลงสู่อ่าวไทย ชายฝั่งทะเลของเขตนี้ เป็นชายฝั่งที่มีลักษณะเว้าแหว่งและเต็มไปด้วยเกาะใหญ่น้อย เป็นเกาะที่ปกคลุมด้วย ป่าไม้และหาดทรายสวยงาม
                5.เขตที่ราบสูงภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 
ภูมิประเทศทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีลักษณะแยก จากภาคเหนือและภาคกลางอย่างเด่นชัด ทั้งนี้เพราะ การยกตัวของแผ่นดิน ด้านตะวันตก และด้านใต้ ทำให้เกิดขอบสูงชันตามแนวเทือกเขาเพชรบูรณ์ด้านตะวันตก ส่วนทางด้านใต้ก็เป็นขอบสูงชันตามแนวทิวเขา สันกำแพง และพนมดงรัก บริเวณตอนกลางของเขตนี้มีลักษณะเป็นแอ่งคล้าย ๆ ก้นกะทะ เรียกว่า แอ่งโคราช มีแม่น้ำชีและแม่น้ำมูลไหลผ่าน ยังมีที่ราบโล่งอยู่หลายแห่ง เช่น ทุ่งกุลาร้องไห้ ทุ่งหมาหิว โดยมีแนวทิวเขาภูพานทอด โค้งยาวค่อนไปทางตะวันออกเฉียงเหนือของภาค ถัดเลยจากแนวทิวเขาภูพานไปทางเหนือมีแอ่งทรุดต่ำ ของแผ่นดินเรียกว่า แอ่งสกลนคร ส่งผลให้พื้นที่หลายแห่งได้กลายเป็นหนองน้ำ เช่น หนองหานใน จ.สกลนคร หนองประจักษ์ใน จ.อุดรธานี หนองญาติใน จ.นครพนม เป็นต้น พื้นที่ราบสูงจะยกตัวสูงทางบริเวณตะวันตกและทางใต้ และลาดเอียงไปทาง ตะวันออกเฉียงใต้ลงสู่แม่น้ำโขง แม่น้ำสำคัญที่ไหลผ่านเขตที่ราบสูง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คือ แม่น้ำชี แม่น้ำมูลและสาขาใหญ่น้อย ซึ่งไหลจากบริเวณตะวันตก ลงสู่ลำน้ำโขง ทางตะวันออก
              6.เขตภูเขาและที่ราบชายฝั่งคาบสมุทรภาคใต้ ภูมิประเทศเขตนี้มีลักษณะเป็นคาบสมุทรแคบและยาว ถูกขนาบด้วยทะเลทั้งสองด้าน คือ อ่าวไทยทาง ด้านตะวันออกและ ทะเลอันดามันทางด้านตะวันตก ประกอบด้วยทิวเขาที่เป็นแกนของคาบสมุทรและที่ราบชายฝั่งทะเลที่ลาดลงสู่ทะเลทั้งสองด้าน โดยที่ราบด้าน ชายฝั่งตะวันออกกว้างขวาง กว่าทางฝั่งตะวันตก ชายฝั่งด้านตะวันออกเป็นชายฝั่งที่ราบเรียบและยกตัวสูง มีหาดทรายสวยงามหลายแห่ง ส่วนชายฝั่งทะเลด้าน ตะวันตกเป็นชายฝั่งทะเลจมตัว ทำให้ฝั่งทะเลขรุขระเว้า ๆ แหว่ง ๆ มีเกาะใหญ่น้อยเป็นจำนวนมาก


ลักษณะภูมิอากาศ 

- ประเทศไทยตั้งอยู่ในเขตร้อนทำให้บริเวณส่วนใหญ่
ของประเทศมีอุณหภูมิสูงตลอดปี ความแตกต่าง
ระหว่างฤดูร้อนและฤดูหนาวในแต่ละจังหวัดมีอุณหภูมิ
อากาศแตกต่างกันตามลักษณะภูมิประเทศ
- ได้รับอิทธิพลลมมรสุม โดยมีลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ 

วันเสาร์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2556

แบบทดสอบ

1.แผนที่เป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อจุดมุ่งหมายใด
ก.ความก้าวหน้าทันสมัย
ข.การศึกษาข้อมูลในพื้นที่
ค.ความเข้าใจอันดีต่อกัน
ง.การย่อส่วนสิ่งต่าง ๆ ลงในวัสดุแบนรา

2.สิ่งที่เรียกว่า "พิกัดภูมิศาสตร์" หมายถึงข้อใด
ก.เส้นโครงแผนที่
ข.ละติจูดและลองจิจูด
ค.ขั้วโลกเหนือและขั้วโลกใต้
ง.เส้นศูนย์สูตร

3.ข้อใดหมายถึง "พิกัดทางภูมิศาสตร์" ของประเทศไทย
ก.ตั้งอยู่ระหว่างละจิจูด 5-20 องศาเหนือ
ข.เป็นส่วนหนึ่งของคาบสมุทรอินโดจีน
ค.จุดใต้สุดอยู่ที่อำเภอเบตง จังหวัดยะลา
ง.ตั้งอยู่ในซีกโลกภาคเหนือ

4.ลักษณะภูมิประเทศในข้อใดไม่มีในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ก.ที่ราบ
ข.เทือกเขาพนมดงรัก
ค.ที่ราบดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ
ง.ที่ราบลุ่มแม่น้ำ ชี มูล 

5.สิ่งที่ลูกโลกให้ประโยชน์แก่ผู้ใช้มากที่สุดคือข้อใด
ก.บอกตำแหน่งที่ตั้งของเมืองต่าง ๆ บนพื้นผิวโลก
ข.แสดงรูปทรงกลมตามความเป็นจริง
ค.หมุนได้รอบทำให้เข้าใจเรื่องกลางวันและกลางคืน
ง.ใช้มาตราส่วนแบบเส้นบรรทัดหรือกราฟิก

วันเสาร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ประวัิติผู้จัดทำ







ชื่อ : นางสาวพิชชาพร 
นามสกุล : แก้วนุรัชดาสร 
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ : 4/5 เลขที่ : 20 
โรงเรียน : จุฬาภรณราชวิทยาลัย สตูล 
สีที่ชอบ : สีฟ้า 
กีฬาที่ชอบ : บาสเกตบอล 
คติประจำใจ : ฝันให้ไกล ไปให้ถึง ♥